วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

การเขียนรายงานการพัฒนาโครงงาน

การเขียนรายงานการพัฒนาโครงงาน

หลังจากวางแผนและทำการพัฒนาโครงง่นทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ทางผู้จัดทำจะต้องนำขั้นตอนกระบวนการ คฃตลอดจนผลงานที่ได้ มานำเสนอในรูบแบบของรายงาน โดยองค์ประกอบของรายงานโครงงาน จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้

1 ส่วนประกอบตอนต้น
-ปกนอกและปกใน
-บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
-กิตติกรรมประกาศ
-สารบัญ
-สารบัญตาราง
สารบัญรูปภาพคำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ
2ส่วนประกอบเนื้อหา
-บทที่ 1 บทนำ
-บทที่ 2 ทฤษฎีและงานที่เกี่ยวข้อง
-บทที่ 3 วิธีการดำเนินการทำโครงงาน
-บทที่ 4 ผลการทดลองและวิเคราห์ผล
-บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอะแนะ
3.ส่วนประกอบท้าย
-บรรณานุกรม
-ภาคผนวก

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
   การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องใช้แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบเพื่อให้โครงงานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย การพัฒนาโครงงานใดๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีขั้นตอนเบื้องต้น 6 ขั้นตอน ได้แก่  กำหนดปัญหา วิเคราะห์ระบบ ออกแบบระบบ พัฒนาระบบ และทดสอบระบบ ติดตัั้งระบบ และบำรุงรักษาระบบ
2.1 กำหนดปัญหา วิเคราะห์ความเป็นไปได้และวางแผน
 1) ประชุมทีมงาน คือ การประชุมทีมงานเพื่อพัฒนา เพื่อกำหนดหน้าที่ให้แก่ทีมงานกำหนดลักษณะการทำงานงาน
2)กำหนดแผนงาน คือ ขั้นตอนการจัดทำแผนการดำเนินงาน ซึ่งถือว่าเป็นผลลัพธ์ของขั้นตอนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้และการวางแผน
2.2 วิเคราะห์ระบบ ขั้นตอนการทำความเข้าใจกับระบบงานทั้งระบบงานปัจจุบันและระบบงานที่จะพัฒนาขึ้นมาแทนที่ 
1)สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน ขั้นตอนที่ต้องลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ
2)วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ หลังจากการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัวทีมผู้พัฒนาควรนำข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะฆ์ข้อมูล
3)กำหนดขอบเขตของระบบ การกำหนดขอบเขตการพัฒนาระบบงานใหม่โดยต้องกำหนดว่าจะดำเนินงานอะไรบ้าง ไม่ทำอะไรบ้าง
4) วิเคราะห์กลุ่มกระบวนการทำงาน ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่าอหากระบวนการทำงานว่าประกอบด้วยกระบวนการทำงานย่อยอะไรบ้างที่จะถูกพัฒนาขึ้นมา

แนวคิดเชิงคำนวณ

แนวคิดเชิงคำนวณ

        แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) 
ไม่ใช่การคิดเหมือนหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญแต่เป็นทักษะที่มุ่งเน้นการคิดเชิงตรรกะ คือ สามารถอธิบายการคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ หรือเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยการเข้าใจปัญหาและวิธีในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  เพื่อให้ได้มาซึ่งการแก้ไขปัญหาที่ทั้งมนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจร่วมกันได้